บัญญัติ "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บัญญัติ "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สร้างแล้ว
17 มิถุนายน ค.ศ. 2014
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
ประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และ ผู้มีอำนาจตัดสินใจอื่นอีก 2 คน
ปิดแคมเปญรณรงค์
แคมเปญรณรงค์นี้ได้รับผู้สนับสนุนจำนวน 5,146 คน

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย องค์กรโนอิ้งบุดด้า

การบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Please see ENGLISH below

วัตถุประสงค์หลักของการรณรงค์ให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มิใช่เพื่อนำพุทธศาสนาไว้สักการบูชา หรือมิใช่เพื่อให้รัฐจำเป็นต้องดูแลพระภิกษุสงฆ์ หรือมิใช่เพื่อยกย่องพระพุทธศาสนามีความเจริญหรือดีกว่าศาสนาอื่น    แต่เป็นไปเพื่อให้หลักธรรมของพระพุทธ ศาสนาอันเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ ได้ถูกนำมาเป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง โดยรัฐต้องน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ

นับแต่ประวัติศาสตร์ชาติไทย เรามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาโดยตลอด ทุกอาณาจักรมีพระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศาสนูปถัมภก รวมทั้งทรงเป็นพุทธมามกะ ก็เพื่อกำหนดให้พระมหากษัตริย์ได้ทรงใช้หลักทศพิศราชธรรมในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งหลักทศพิศราชธรรม คือหลักทศบารมีของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนา นี่คือตัวอย่างของการใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักการปกครองบ้านเมือง จนมีพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ที่ผ่านมาได้ผู้คัดค้านกล่าวว่า “การไม่บรรจุพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นเพราะพระพุทธศาสนาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและเกรงว่าจะกีดกันศาสนาอื่นในประเทศ” 

การกล่าวเช่นนั้น แสดงให้เห็นถึงการไม่เข้าใจถึงธรรมอย่างลึกซึ้ง เพราะว่าการไม่บรรจุพระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ถือว่าเป็นการละทิ้งพระพุทธศาสนา ทั้งๆที่ พุทธศาสนามีส่วนช่วยอุปถัมภ์รัฐในการปกครองบ้านเมือง เพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักธรรม อันจะทำให้ประเทศชาติเกิดความสมานฉันท์ เกิดสันติภาพและสันติสุข และคนไทยทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาอย่างเต็มที่มาตลอด ไม่เคยมีการบังคับให้เลือกนับถือศาสนาอื่นใด

ข้อสนับสนุนที่ว่าทำไมควรบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ 

(1) ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ในประเทศ 94.6% (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2554) เมื่อคนส่วนใหญ่ต้องการให้บรรจุ จึงเป็นไปตามกติกาของระบอบประชาธิปไตยโดยแท้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นการปกป้องคุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนา

(2) ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทย เรามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาช้านาน เริ่มอาณาจักรตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน มีพระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด และมีพระมหากษัตริย์เป็นศาสนูปถัมภก 

(3) พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ โดยมีพระธรรมเป็นเบ้าหลอมวิญญาณ จนกลาย เป็นวัฒนธรรมไทย เป็นวิถีแห่งชาวพุทธ 

(4) ปีพุทธศักราช 2547,2548 เป็นปีที่ผู้นำชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งมาประชุมพร้อมกันที่ประเทศไทย มีมติยกย่องยอมรับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก

(5) ธงชาติไทยเรามี ๓ สี น้ำเงิน ขาว แดง สถาบันชาติก็มีกำหนดในรัฐธรรมนูญ สถาบันพระมหากษัตริย์มีรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ สีขาวในธงชาติ องค์รัชกาลที่ ๖ ผู้ทรงกำเนิดธงไตรรงค์กำหนดไว้ว่าสีขาวหมายถึงพระไตรรัตน์ หมายถึงพระพุทธศาสนา กับไม่ได้มีการรับรองสถานะใดๆ ในรัฐธรรมนูญ มีเพียง กรมศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ดูแลเท่านั้น

ด้วยบทความดังกล่าวข้างต้น กลุ่มชาวพุทธและผู้ร่วมสนับสนุนแคมเปญนี้ ขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจ หน้าที่ ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ได้โปรดพิจารณา “บัญญัติ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเทิดทูนชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ตามแบบที่เคยมีมาแต่ครั้งอดีตที่เราอยู่กันมาด้วยความร่มเย็นเป็นสุข เพราะเรามีพระมหากษัตริย์ที่เคารพเทิดทูนพระพุทธศาสนา และปกครองแผ่นดินโดยธรรมมาจวบจนปัจจุบัน แต่คนในชาติได้ห่างไกลจากพระพุทธศาสนาออกไปทุกที ทำให้จิตใจคนตกต่ำ บกพร่องเรื่องความละอายชั่วกลัวบาป จึงเห็นสมควรให้มีการบัญญัติ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพื่อย้ำเตือนและทำให้ประชาชนได้ตระหนักว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาติ ที่ทุกคนมีหน้าที่ของตนในการช่วยกันธำรงพุทธศาสนาด้วยการมีศีลธรรม เพื่อความดีงามและความร่มเย็นของประเทศชาติในกาลต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------

Buddhism for Thailand’s National Religion

The main purpose for establishing Buddhism to be Thailand’s national religion is not to direct Buddhism to worship, not to demand the government to specially aid Buddhist monks, not to raise Buddhism the grand religion above other religions but to promote the religion principles into use of the nation’s good governing to be the key that leads to true democracy.  

Throughout Thai history, Buddhism has always been displayed. Kings after kings has been supporting the religion for their entire realms. A King who at time was the sole ruler has induced the ten good obligations in setting the nation’s courses. The obligations were call The Virtues of the King or Duties of a Universal King or a Great Ruler. They consisted of ten good royal deeds of the Bodhisattva in which considered high manners and sacred in Buddhism because they combined virtue, ethic and morality to governing. We see great example in our current king’s speech as he succeeded to the throne on June 9 1946, “I shall reign in righteousness for the benefits and happiness of Siamese people.” 

The objectors’ quote claims “Not placing Buddhism as national religion in the constitution is because it would mean that Buddhism is placed above the state and empowered over the constitution and would deprive other religions within the kingdom.” It shows miss approaches of truly understanding profound Dharma. Not prompting Buddhism as national religion means abandoning duty of being Buddhist as we overlooked the fact that Buddhism patronized good governance in the state for greater democracy efficiently and sufficiently. This righteous ruling can only lead to reconciliation, unification, serenity and peace. Above all, every person has and always been free to choose self religion, no mandatory has ever been regulated. 

Supporting facts on why Buddhism should be the nation religion

1) More than 94% of Thai citizens are Buddhist, (National Statistical Office, 2011) When the majority of the people require Buddhism to be the national religion, it should be so according to the democracy rule. This is not politic, simply to protect and show grateful to Buddhism.

2)Throughout Thai history, since earliest Kingdom of Sukkhothai, Buddhism has always been displayed, respected and nourished by every class in the society: common man, merchants, nobilities, lords and especially royalties and kings.

3)Buddhism is the nation’s entity presenting Dharma as spiritual crucible that molds Thai traditions and religious courses.

4)In 2004 and 2005, Buddhists from all over the world came to a major assembly in Thailand and unanimously praised Thailand to be the global center of Buddhism.

5)Thai national flag consists of three colors: Blue representing the king, red representing the nation and white representing the religion. Both the kings and the nation are already established in the constitution, remaining only the religion to be proclaimed. King Rama VI who formed the Thai national flag, the Trirong has formulated the white color to represent the Three Jewels or Buddhism. However, official endorsement and constitutional formulation were never approved. There have been merely Department of Religious Affairs and National Office of Buddhism in service.

All in all, Buddhists and the campaign supporters implore the officials and authorities who have undertaken the duty consideration of the draft to “Regulate Buddhism as National Religion” in the constitution as soon as possible for recognition of paying highest respect to the king, the nation and the religion as they are shown in our national flag and as we have practiced and lived peacefully and prosperously since long ago. We are fortunate to have great kings who have paid highest respect to Buddhism and dedicated their royal highnesses in ruling righteously; yet, people in current existence misbehave unworthy of such fortune leading their minds and souls to slump into corruption and defectively lacking of recognizing rights from wrongs. Regulating Buddhism to be national religion is necessary and priority in order to resolve people’s deficient in common consciousness, to restore virtue, ethic and morality and to reinstate goodness and peace back to the society. 

Please help support and share this campaign through this link

http://chn.ge/1sn0fpz

 

Knowing Buddha Organization

 

ปิดแคมเปญรณรงค์

แคมเปญรณรงค์นี้ได้รับผู้สนับสนุนจำนวน 5,146 คน

แชร์แคมเปญรณรงค์นี้

แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ