ตั้งกรรมการอิสระตรวจน้ำมันรั่ว ปตท.

ตั้งกรรมการอิสระตรวจน้ำมันรั่ว ปตท.

สร้างแล้ว
6 สิงหาคม ค.ศ. 2013
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) และ ผู้มีอำนาจตัดสินใจอื่นอีก 14 คน
ผู้สนับสนุน 53,916เป้าหมายต่อไป 75,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย PTT Oil Spill Watch - กลุ่มติดตามน้ำมัน ปตท. รั่ว

English | French | German

น้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (พีทีทีจีซี) จำนวนมหาศาลที่รั่วไหลสู่อ่าวไทย  ได้ทิ้งคราบปนเปื้อนบนเกาะเสม็ดโดยเฉพาะอ่าวพร้าว รวมถึงชายฝั่งของระยองมานานกว่า 1สัปดาห์ กำลังค่อยๆ จางหายไปพร้อมไปกับความจริงและสาเหตุของเรื่องราวที่เกิดขึ้น 

 หายนะครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อธุรกิจการท่องเที่ยวเท่านั้น  แต่ยังก่อความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม แหล่งอาหาร ทรัพยากร และระบบนิเวศในทะเลอ่าวไทย ไปอีกอย่างน้อยหลายสิบปี

พีทีทีจีซี และ ปตท. ยืนยันจะรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น แต่ความเสียหายทั้งหมดที่แท้จริงซึ่งผู้ก่อมลพิษจะต้องรับผิดชอบคือเท่าไหร่กันแน่

การนำเสนอข่าวสารจากพีทีทีจีซี และ ปตท. สร้างความสับสน  ข้อมูลจำนวนมากยังคงถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่าย  อาทิ ปริมาณที่แท้จริงของน้ำมันดิบที่รั่วไหลสู่ทะเล ชนิดและปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการสลายคราบน้ำมัน ผลกระทบและอันตรายทั้งจากน้ำมันดิบที่รั่วไหลและสารเคมีที่นำมาใช้ ขั้นตอนในการป้องกันและระงับเหตุเพื่อลดผลกระทบ เป็นต้น

ด้วยเหตุดังที่กล่าวมา กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมและประชาชน จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแต่งตั้ง “คณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง” อย่างเร่งด่วน 

คณะกรรมการตรวจสอบที่แต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม โดย พีทีทีจีซี ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อเหตุเองและมีส่วนได้เสียโดยตรง จะไม่สามารถสร้างความกระจ่างให้กับเรื่องนี้ได้ พวกเราจึงเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่มีการดำเนินงานที่เปิดเผยโปร่งใสตรวจสอบได้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เข้ามาดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง องค์ประกอบของคณะกรรมการจะต้องมีตัวแทนจากอย่างน้อยจาก 5 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน ภาควิชาการ ภาคกฎหมาย และภาคประชาชน 

เมื่อปี 2552 ปตท. สผ. ออสตราเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. เป็นต้นเหตุของการเกิดน้ำมันรั่วจากหลุมขุดเจาะที่แหล่งมอนทารา นานกว่า 74วัน เป็นการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะกลางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย เป็นเหตุให้ศาลของออสเตรเลียสั่งปรับไปกว่า 8,946ล้าน บาท รวมทั้งเซ็นสัญญาให้เงินสนับสนุนการวิจัยเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมหลังจากเกิดเหตุแก่คณะนักวิทยาศาตร์อิสระที่มอบหมายโดยรัฐบาลออสเตรเลียอย่างต่อเนื่องอีก 2 – 5 ปี 

ในครั้งนั้น ปตท. ประเมินว่ามีการรั่วไหลเพียง 4.5ล้านลิตร แต่รัฐบาลออสเตรเลียได้ตั้งคณะกรรมอิสระขึ้นมาสืบสวนข้อเท็จจริง และประเมินว่าอาจมีน้ำมันรั่วถึง 34ล้านลิตร คณะกรรมการอิสระชุดนี้มีส่วนทำให้ ปตท. ต้องเสียค่าปรับ และจ่ายค่าทำความสะอาดเหมาะสมตามความเป็นจริง 

เหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งเดียวกันนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อนิเวศน์ทางทะเลและชาวประมงในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียเรียกร้องค่าชดเชยเป็นเงิน 75,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากไม่มีกลไกอิสระในการสืบสวน ทำให้ ปตท. สผ. ออสตราเลเซีย ออกมาปฏิเสธความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในน่านน้ำอินโดนีเซีย และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการจ่ายค่าชดเชยใดๆ  

เป็นบทเรียนที่ทำให้เราเห็นความสำคัญของการมีคณะกรรมการที่เป็นอิสระเพื่อสืบสวนข้อเท็จจริง

มีเหตุการณ์น้ำมันรั่วในประเทศไทยที่ประชาชนไม่ทราบ หรือไม่ได้เป็นข่าวนับครั้งไม่ถ้วน ขอให้ครั้งนี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ร่วมกันเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่ปลอดพ้นจากผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมดำเนินการหาความจริง


English Summary

In the early hours of Saturday July 27th, in an area no more than 20 kilometers off the coast from one of Thailand’s most traveled island destination, an estimated 50,000 liters (13,000 gallons) of crude oil leaked into the sea. 

The source was a pipeline operated by PTT Global Chemical, a subsidiary of PTT PLc., the country’s largest and most powerful oil and gas Company. By Monday July 29th the untouched beach of Ao Prao on Samet Island was soaking with crude oil that had washed ashore. 

For over a week the company worked on shoveling the oil-soaked sand from the beaches of Samet Island and started making promises of compensation but it was few and far between as reports of bleached coral colonies and dying marine life suggested that adverse affects of the oil spill will be long term. 

“PTT OIL SPILL WATCH” a network of Thai non government organizations set up to monitor the situation is calling on the government to take a stand and set up an independent committee to investigate the TRUE COST of the PTT oil spill. 

Until now, the government has been content in letting PTT run the show with their own internal investigation committee and so far the company has only frustrated the public with ambiguous information regarding chemicals used to disperse the oil and the actual amount of oil that was let loose into the sea. 

In 2009, an independent “Commission of Inquiry” set up by the Australian government played a vital role in holding PTTEP Australasia (PTTEP AA), another subsidiary of PTT Plc., responsible for one of the worst oil spills in Australian history. The commission found that as much as 34 million litres, not 4.5 million as PTT earlier claimed, of crude oil leaked from the company’s off-shore rig in Montara oil field, Timor Sea. 

As a result PTT was fined AU$510,000 and the company also agreed to fund an environmental monitoring programme as part of the clean up process for up to 5 years. 

On the other hand, the Montara oil spill had also affected Indonesia’s marine ecosystem and thousands of its fisherfolks and the Indonesian government demanded PTT take responsibility for what happened. However, without an independent investigation, the company denied all responsibilities claiming lack of evidence.  

PTT must pay for the true extent of the damage. Over the past 20 years oil spills have taken place unnoticed throughout Thailand, this has to stop. The cabinet must take up the challenge and set up an independent committee to investigate the country’s largest ever oil leak and protect the livelihoods of not just people in the tourism industry but hundreds of fishing communities whose lives depend on the balance of life in the ocean. 

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 53,916เป้าหมายต่อไป 75,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี
  • นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • นายวิชิต ชาตไพสิฐผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง